ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เปิดเผยว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยผงาดเป็นผู้นำในธุรกิจ บัตรเครดิต แซงแชมป์เก่าอย่างนอนแบงค์ ในขณะที่การแข่งขันที่จะดุเดือดขึ้นอีก หลังปรับเงินเดือน ทำแบงก์รัฐเริ่มสนใจตลาดธุรกิจ บัตรเครดิต ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ ธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างประเทศ และ บริษัทผู้ประกอบธุรกิจ บัตรเครดิต (Non-Bank) ซึ่งกลุ่มหลังนั้นรวมถึงบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งขึ้นเพื่อรุก ตลาด บัตรเครดิต โดยเฉพาะด้วย

เมื่อห้าปีก่อน บัตรเครดิต ของ Non-Bank จะครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดประมาณครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรม ทั้งจำนวนบัตรและยอดคงค้างสินเชื่อ แต่ส่วนแบ่งตลาดยอดคงค้างค่อยๆลดลงจนในปีที่แล้วบัตรธนาคารพาณิชย์ไทย แซงมามีส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อคงค้างสูงที่สุดคือ 44% จากการขยายตัวที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าและการแข่งขันสูงมาโดยต่อเนื่อง ตามด้วย Non-Bank 39% และ สาขา ตปท 17% ในช่วงแรกๆ นั้น ภาพของการแข่งขันจะเน้นที่การทำเป้าจำนวน บัตรเครดิต จนทำให้จำนวนบัตรขยายตัวถึง 10% ต่อปี แต่ปรากฎว่า บัตรเครดิต จำนวนหนึ่งไม่ได้ถูกนำไปใช้ กลายเป็นต้นทุนจมของผู้ประกอบการออกบัตร ภายหลัง จึงหันมาใช้กลยุทธ์จูงใจให้ผู้ถือบัตรใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการส่งเสริมการขายร่วมกับกิจการร้านค้าต่างๆรวมถึงการให้ เงินสดคืน อัตราการเพิ่มของจำนวนบัตรในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจึงเฉลี่ยเหลือเพียง 5% ต่อปีเท่านั้น

การใช้จ่ายผ่านบัตร ไม่รวมการกดเงินสด ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา บัตรของธนาคารพาณิชย์ไทยมีอัตราการเติบโตสูงสุดถึง 18% ต่อปี ขณะที่ของ สาขา ตปท. และ Non-Bank เติบโต 10% และ 8% ตามลำดับ ในขณะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณเพียง 3% ต่อปี แสดงว่า การใช้จ่าย บัตรเครดิต มีธุรกรรมเพิ่มขึ้นจริง ไม่ใช่เพิ่มเพราะระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่เพียงแต่เท่านี้ การใช้จ่ายต่อบัตรของธนาคารพาณิชย์ไทย ก็มีพัฒนาการดีที่สุดในกลุ่ม เมื่อพิจารณาการใช้จ่ายต่อบัตร พบว่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า โดยของธนาคารพาณิชย์ไทย เพิ่ม 9% ขณะที่ของ สาขา ตปท. และ Non-Bank เพิ่มขึ้น 5% และ 1% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า การขยายฐานลูกค้าด้วยการเพิ่มจำนวนบัตรยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังมีบัตรบางส่วนถูกแช่ทิ้งไว้เฉยๆ ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้น ต่ำกว่าการใช้จ่ายโดยรวม

การใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือนของธนาคารพาณิชย์ไทย ปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ 5,600 บาท กระโดดขึ้นจากเดิมที่ 3,600 บาทเมื่อห้าปีก่อน, สาขา ตปท. ปัจจุบันประมาณ 7,800 บาท จากประมาณ 6,000 บาท, และ ในส่วนการใช้จ่ายต่อบัตรของ Non-Bank แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมในอดีตที่ 3,100 บาท เป็น 3,200 บาทเท่านั้น ซึ่งหากคำนึงถึงเฉพาะบัตรที่มีการใช้จ่ายสม่ำเสมอ ที่มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของบัตรทั้งหมด ยอดการใช้จ่ายต่อบัตรก็จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ในด้านยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าก็ไม่ต่างกัน บัตรธนาคารพาณิชย์ ไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่คู่แข่งอย่าง สาขา ตปท. และ Non-Bank กลับหดตัวลง ถึงแม้ยอดการเบิกเงินสดต่อบัตรล้วนหดตัวอยู่ในแดนลบกันหมด

ด้านหนี้เสียของธุรกิจ บัตรเครดิต โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ คือ ที่ประมาณ 2% ต่อยอดคงค้างสินเชื่อ (NPL ratio) ลดลงจากช่วงสามสีปีก่อนหน้าที่ระดับประมาณ 4% สัดส่วนหนี้เสียนี้ มีระดับไม่แตกต่างกันมากสำหรับบัตรผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม แต่แนวโน้มสัดส่วนหนี้เสียของ ธนาคารพาณิชย์ไทย ลดลงต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต่างจากของผู้ประกอบการอีกสองกลุ่มที่มีแนวโน้มทรงหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

อย่างไรก็ดี ด้วยแนวโน้มธุรกิจธ บัตรเครดิต ที่ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท ซึ่งเข้าเกณฑ์รายได้ที่สามารถขอสินเชื่อ บัตรเครดิต ได้ ทำให้ธุรกิจ บัตรเครดิต ยิ่งมีสีสันน่าสนใจยิ่งขึ้น จนกระทั่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ก็ยังแสดงท่าทีสนใจสินเชื่อรายย่อยลักษณะนี้เช่นกัน ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ไทย ก็ไม่อาจประมาทคู่แข่งทั้งหน้าเดิมและหน้าใหม่ได้เลย

ส่วนเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังมองหาบัตรเครดิตสักใบเอาไว้รูดช้อปปิ้ง ชิม ช้อป ใช้ ได้ครบในบัตรเดียวก็สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.creditonhand.com/บัตรเครดิต/1.asp เพื่อเปรียบเทียบบัตรเครดิตให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ตัวเองได้เลย

Site Footer